วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Story board)

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Story board)
          หลายคนอาจจะกลัวว่า ตัวเองวาดรูปไม่เก่งแล้วจะวาดสตอรี่บอร์ดไม่ได้ ไม่เป็นความจริงเลย เพราะการวาดสตอรี่บอร์ดเป็นเพียงรูปที่วาดง่ายๆ ก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดไอเดีย (Idea) หรือความคิดว่า ภาพควรออกมาอย่างรบนจอภาพยนตร์
          การเขียนสตอรี่บอร์ด แตกต่างจากการวาดภาพการ์ตูน หรือภาพที่เน้นความสวยงามแบบศิลปะ เป็นการร่างภาพอย่างคร่าวๆ เท่านั้น วัตถุประสงค์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน โฆษณา สารคดี เป็นต้น โดยคำนึงถึงมุมกล้อง อาจมีบทสนทนาหรือไม่มีบทสนทนาก็ได้
ความหมายของสตอรี่บอร์ด (Story Board)
            สตอรี่บอร์ดคือ การเขียนภาพนิ่งเพื่อสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวในรูปของสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia)  หรือสื่อประสม หมายถึงสื่อหลายแบบ เป็นการใช้สื่อในหลายรูปแบบ ทั้งข้อความ เสียง รูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อกำหนดแนวทางให้ทีมผู้ผลิตเกิดความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันในการถ่ายทำเป็นภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์การ์ตูน ภาพยนตร์สารคดี หรือแม้แต่การทำผลงาน โดยแสดงออกถึงความต่อเนื่องของการเล่าเรื่อง จุดประสงค์ของสตอรี่บอร์ดคือ เพื่อการเล่าเรื่อง ลำดับเรื่อง มุมกล้อง ภาพไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก แค่บอกองค์ประกอบสำคัญได้ ตำแหน่งตัวละครที่สัมพันธ์กับฉากและตัวละครอื่นๆ มุมกล้อง แสงเงา เป็นการ สเก็ตซ์ภาพของเฟรม (Shot) ต่างๆ จากบท เหมือนการ์ตูนและวาดตัวละครเป็นวงกลม สี่เหลี่ยม ฉากเป็นสี่เหลี่ยม การสร้างสตอรี่บอร์ดจะช่วยให้ Producer และผู้กำกับได้เห็นภาพของรายการที่จะถ่ายทำเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นได้ในแต่ละเฟรมที่จะดำเนินการ
ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด
           สตอรี่บอร์ด ประกอบด้วยชุดของภาพ Sketches ของ shot ต่างๆ พร้อมคำบรรยายหรือบทสนทนาในเรื่อง อาจเขียนเรื่องย่อและบทก่อน หรือ Sketches ภาพก่อน แล้วจึงใส่คำบรรยายที่จำเป็นลงไป สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ภาพและเสียงต้องให้ไปด้วยกันได้ อาจมีบทสนทนาหรือไม่มีบทสนทนาก็ได้ หรืออาจมีบทบรรยายหรือไม่มีบทบรรยายก็ได้ โดยมีเสียงประกอบด้วย ได้แก่ เสียงดนตรี เสียงธรรมชาติหรือเสียงอื่นๆ สำหรับการผลิต
ชลพรรษ ดวงปัญญา, การเขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board) [Online], 9 กันยายน 2553, แหล่งที่มา  http://province.m-culture.go.th/trat/storyboard2553/2.pdf
รายการที่สั้นๆ อย่างภาพยนตร์โฆษณา สามารถทำโดยใช้สตอรี่บอร์ดเป็นหลัก มิต้องเขียนบทหรือเขียนสคริปต์ขึ้นมา
ตัวอย่าง Storyboard
ความรู้พื้นฐานก่อนเขียนสตอรี่บอร์ด
           ก่อนเขียนสตอรี่บอร์ดจะต้องศึกษาการเขียนเรื่อง บทบรรยาย (Notation) รวมทั้งมุมกล้องให้เข้าใจก่อน จึงจะสามารถเขียนสตอรี่บอร์ดได้
           ศิลปะการเล่าเรื่อง ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละครหรือภาพยนตร์ ล้วนแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ สถานที่ใดที่หนหนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่และเวลา สิ่งสำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจ ให้ได้ว่า เราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ในก็คือ ตัวละคร แนวความคิดและเหตุการณ์ ควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นมักจะทำเรื่องที่ไกลตัว หรือไม่ก็ไกลเกินจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้
การเขียนเรื่องสั้น
          การเขียนเรื่องสั้น ต้องให้กระชับ ตัวละครมีบทสนทนาไม่มาก เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น มีดังนี้
  1. ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ (Local Color) หมายถึงการพรรณนาภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนำความคิดของผู้อ่านให้ซาบซึ้งในท้องเรื่อง ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วย ตัวอักษรนั้นต้องชัดเจน
  2. การวางโครงเรื่อง (Plot) มีการเริ่มนำเรื่องจนถึงปลายยอดเรื่อง หรือที่เรียกว่า ไคลแมกซ์ (Climax) และจบเรื่องลงโดยเร็ว ให้ผู้อ่านโล่งใจ เข้าใจและสะเทือนใจ หรือเป็นแบบสองซ้อนเหตุการณ์
  3. การจัดตัวละครและให้บทบาท เป็นตัวละครที่สำคัญในเรื่อง เพื่อแสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น
  4. การบรรยายเรื่อง แบบการมีตัวตนที่เข้าไปอยู่ในตัวเรื่อง และการเป็นบุรุษที่สาม ได้แก่ ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด
  5. การเปิดเรื่อง อาจทำได้โดยการให้ตัวละครพูดกัน การบรรยายตัวละคร การวางฉากและการบรรยายตัวละครประกอบ  การบรรยายพฤติกรรมและตัวละคร
  6. บทเจรจา หรือคำพูดของตัวละคร ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวละคร
  7. ต้องมีความแน่น คือพูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ใช้คำไม่ฟุ่มเฟือย
  8. การตั้งชื่อตัวละคร ควรให้ชื่อที่ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ ส่วนชื่อเรื่องก็ควงเป็นข้อความที่ก่อให้เกิดความอยากอ่าน ใช้คำสั้นๆ แต่ให้น่าทึ่ง
  9. การทำบท คือการบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียวกับการแสดงละคร ต้องพรรณนาถึงกิริยาท่าทาง อาการรำพึงรำพัน เป็นต้น
การทำสตอรี่บอร์ด
การทำสตอรี่บอร์ดเป็นการสร้างตารางขึ้นมาเพื่อร่างภาพลงไปตามลำดับขั้นตอนของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้ทุกๆฝ่ายสามารถมองเห็นภาพรวมของงานที่จะลงมือทำได้ล่วงหน้า ซึ่งหากมีข้อที่ต้องแก้ไขใดๆเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ และทำสตอรี่บอร์ดใหม่ได้ การทำสตอรี่บอร์ดนั้นโดยหลักแล้ว จะเป็นต้นแบบของการนำไปสร้างภาพจริง และเป็นตัวกำหนดในการทำงานอื่นๆ ไปด้วยเช่น เสียงพากย์ เสียงดนตรี เสียงประกอบอื่นๆ special effect จึงเป็นการร่างภาพ พร้อมกับการระบุรายละเอียดที่จำเป็นต้องทำลงไป
หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด  
รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนเสียงกับส่วนภาพ โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด 24 เฟรม คือภาพ 24 ภาพ เมื่อถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ใช้เวลา 1 นาที ถ้าเป็นภาพยนตร์โฆษณา ในเวลา 30 วินาที ต้องเขียน 12 เฟรม การเขียนบทบรรยายจะเป็นส่วนสนับสนุนการนำเสนอภาพ มิใช่การนำเสนอบทบรรยายนั้น ความยาวของคำบรรยายมีหลักการในการจัดทำ 3 ประการคือ
  1. ต้องเหมาะสมกับลักษณะของผู้ชม
  2. ต้องมีความยาวพอที่จะครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่กำหนด
  3. ต้องให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับรายการที่ใช้การบรรยายแบบ “Voice Over” ควรมีภาพของผู้บรรยายปรากฏขึ้นในตอนเริ่มรายการก่อน จะทำให้รายการดูเป็นกันเองมากขึ้น และถ้ารายการยาวมาก ควรให้ผู้บรรยายมากกว่า 1 คน จะทำให้ลดความเบื่อหน่ายจำเจของรายการลงได้ เสียงบรรยายไม่จำเป็นต้องมีอยู่ตลอด ควรทิ้งช่วงโดยใช้ดนตรีและเสียงอื่นประกอบด้วย
สิ่งสำคัญที่อยู่ในสตอรี่บอร์ด  ประกอบด้วย
  1. Subject หรือ Character ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญคือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
  2. กล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
  3. เสียง การพูดกันระหว่างตัวละคร มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร
   
วิธีการเขียนสตอรี่บอร์ด
          สตอรี่บอร์ด (Story board) คือการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏ ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือหนังขึ้นมาจริงๆ
อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี., ทำอย่างไรให้ Story Board โดนใจกรรมการ [Online], 31 สิงหาคม 2553, แหล่งที่มา http://thailandanimation.aacp.co.th/th/StoryBoard.aspx
ตัวอย่างการเตรียมเรื่อง/ บท
บทภาพยนตร์แอนิเมชั่น ความยาว 4 นาที
เรื่องสามหนูกับหนึ่งแมวแดงใหญ่ ตอน แขนกุด หูขาด ตาบอด
เขียนบทโดย คมกฤช มานนท์
ลำดับ
เหตุการณ์
1
หนูสามตัวกำลังรุมแย่งข้าวโพดกัน
2
แมวแดงใหญ่แอบซุ่มดูอยู่
3
หนูสามตัวลงมือลงไม้กันเข้าแล้ว
          สิ่งแรกที่เราจะต้องทำในการสร้างภาพยนตร์ เรื่องที่เราทำจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าเราจะนำเอาไปใช้ในโอกาสอะไร เช่นอาจจะทำเพื่อฉายทางโทรทัศน์ หรือทางเว็ปไซต์ เนื้อเรื่องที่ดีควรตอบสนองวัตถุประสงค์นั้นๆซึ่งจะคำนึงถึงความสั้น-ยาว ของเรื่องด้วย และเมื่อได้เนื้อเรื่องแล้ว ก็บันทึกไว้ แล้วเขียนออกมาเป็นบทภาพยนตร์ ซึ่งวิธีการเขียนบทภาพยนตร์มีหลายแบบ เช่น การเขียนบทที่ใช้ในการทำแอนิเมชั่นเรื่อง สามหนูกับหนึ่งแมวแดงใหญ่ จะเป็นลักษณะที่ประยุกต์ขึ้นใช้ใหม่ เพราะเป็นหนังใบ้ คือตัวการ์ตูนไม่พูดอะไร ดังนั้นตรงช่องลำดับเรื่องราวสามารถเปลี่ยนให้เป็นเสียงได้
การออกแบบตัวละคร
          การออกแบบตัวละครเป็นขั้นตอนของสร้างตัวละครขึ้นมาตามเนื้อเรื่องที่เราสร้างขึ้น โดยตัวละครใดๆก็ตาม ถ้าระบายสีดำลงไปในตัวละครนั้นทั้งตัวซึ่งจะทำให้มองเห็นแต่โครงร่างเท่านั้น หากตัวละครตัวนั้นดูโดดเด่นและมีบุคลิกที่สามารถจดจำได้ง่าย นั่นละที่เรียกว่าตัวละครที่ดี
นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงอีกมากมายเช่นความสวยงาม และสิ่งหนึ่งที่ทำเมื่อลงมือออกแบบสามหนูกับหนึ่งแมวแดงใหญ่คือ เรียบง่าย และมีบุคลิกภาพเฉพาะที่เป็นตัว นั่นเป็นเพราะเชื่อว่ามันจะช่วยทำให้ขั้นตอนการลงมือวาดจริงนั้นจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ และสำหรับภาพประกอบด้านบนคือสามหนูกับหนึ่งแมวแดงใหญ่ในร่างแรกก่อนที่จะพัฒนาขัดเกลาแบบจนได้ตัวจริง
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6 การเขียนสตอรี่บอร์ด (Story board)
          กำหนดให้นักศึกษาเขียนแผนผังโครงเรื่องละครสั้น หรือนิทานเรื่องสั้นจากการแนวความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ไม่เกินคนละ 10 กรอบ/ เล่ม โดยทำการเขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์มการเขียนสตอรี่บอร์ดที่กำหนดให้ แล้วจัดรูปแบบเป็นรูปเล่มแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

อ้างอิง http://202.29.15.34/eduit/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=17

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศัพท์ทางเทคนิคกับการถ่ายทำและควบคุมกล้อง

ศัพท์ทางเทคนิคกับการถ่ายทำและควบคุมกล้อง


PAN เป็นการเคลื่อนกล้องและแท่นวางกล้องโดยวิธีส่ายไปในแนวนอนส่วนขาตั้งกล้องยังคงที่

คำสั่งที่ใช้ :ใช้ออกคำสั่งว่า"Panright"ส่ายไปทางขวาหรือ"Panleft"ส่ายไปทางซ้ายบางที ผู้ผลิตอาจออกคำสั่งที่เจาะจงลงไปกว่านี้ก็ได้เช่นส่ายไปทางซ้ายเมื่อผู้ดำเนินรายการเดินไปที่โต๊ะก็ได้ การส่ายกล้องชนิดพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ การส่ายอย่างรวดเร็ว (SWISH หรือ WHIP) ช่วงระหว่างภาพที่ส่ายนั้นจะไม่ชัดมองเห็นเหมือนลำแสงบนจอวิธีการนี้เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องของภาพนั่นเอง การส่ายกล้องควรคำนึงถึงจุดหมายปลายทางมิใช่ส่ายกล้องไปโดยมิรู้ว่าจะไปหยุด ณ ที่ใด ทำให้ภาพไม่มีประสิทธิภาพและไม่น่าสนใจ
TILT คือ การเคลื่อนไหวกล้อง และแท่นวางกล้องโดยวิธีการก้มหรือเงยกล้อง ส่วนขาตั้งกล้องยังคงที่

คำสั่งที่ใช้ : ใช้ออกคำสั่งว่า "Tilt up" เงยกล้องขึ้น หรือ "Tilt down" ก้มกล้องลง
PEDESTAL คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความสูงของขาตั้งคำสั่งที่ใช้ : ใช้ออกคำสั่งว่า "Pedestal up" หรือ "Ped up"เป็นการยกกล้องให้สูงขึ้น "Pedestal down" หรือ "Ped down" เป็นการลดกล้องให้ต่ำลง

การใช้ Pedestal upก็เหมือนกับการนั่งแล้วลุกขึ้นจะทำให้มุมของภาพที่มองนั้นเปลี่ยนไป
DOLLY คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธีเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่ออกไปจาก วัตถุพร้อมขาตั้ง
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Dolly in" เป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุและ "Dolly out"เคลื่อนออกไปจากวัตถุการเคลื่อนที่ช้าหรือเร็วเพียงใดนั้นผู้ควบคุมรายการจะเป็นผู้ออกคำสั่ง

TRUCK คือการเคลื่อนไหวกล้องไปข้างซ้ายหรือขวาโดยทั้งขาตั้งและตัวกล้องเคลื่อนที่ไปด้วยกัน

คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Truck right" สำหรับการเคลื่อนไปทางขวาและ
"Truck left" สำหรับการเคลื่อนไปทางซ้ายการเคลื่อนที่ในลักษณะนี้ก็เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้แสดงและเป็น การช่วยจัดภาพภายในกรอบให้ดีขึ้นนั่นเอง  ลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้แตกต่างจากการส่ายกล้องPAN ที่เคลื่อนที่เฉพาะตัวกล้องและแท่นวางเท่านั้น
ARC คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธี Dolly และ Truck แต่เป็นการเคลื่อนในลักษณะครึ่งวงกลม
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Arc right" สำหรับการเคลื่อนไปทางขวามือ และ "Arc left" สำหรับการ เคลื่อนไปทางซ้ายมือ
CRANE คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยที่กล้องติดอยู่บนคันยกที่มีแขนยาวยื่นออกไป
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Crane up" สำหรับการยกคันยกขึ้นและ "Crane down" สำหรับการยกคันยกลงบางทีใช้คำว่า "Boom up" และ "Boom down" แทนก็ได้ ถ้าหากมีการส่ายคันยกไปทางขวาจะใช้คำสั่งว่า "Tongue left" บางครั้งจำเป็นที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะต่างๆร่วมกันเพื่อให้ภาพมีประสิทธิภาพเช่น ในขณะที่ (Dolly in) อาจต้องลดกล้องให้ต่ำลง (Ped own) และการที่จะทำให้ภาพอยู่ในกรอบในขณะที่ลดต่ำลงจะต้องมีการส่ายไปทางซ้าย-ขวา (Pan) เล็กน้อยพร้อมกับเงยกล้อง (Tilt up) ด้วยจึงจะได้ภาพที่อยู่ในกรอบที่ต้องการ ดังนั้นผู้ควบคุมกล้องควรมีผู้ช่วยในการเคลื่อนขาตั้งส่วนผู้ควบคุมกล้องจะทำหน้าที่ส่ายก้มหรือเงย และควบคุมเลนส์ได้สะดวกขึ้นการมีผู้ช่วยจำเป็นต้อง มีการทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะเกิดประสิทธิผลของการผลิตรายการ
Zoom คือการใช้การควบคุมที่ต้องการเปลี่ยนมุมการรับภาพของเลนส์ที่ต่อเนื่องกัน
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Zoom in" หรือ "Zoom out" ใช้ "Zoom in" เมื่อต้องการดึงภาพเข้ามาใกล้ ๆ บางทีใช้คำว่า "Push in" และใช้คำว่า "Zoom out" เมื่อต้องการปล่อยมุมรับภาพให้กว้างออกไปบางทีใช้ "Pull out" การใช้ Zoomอย่างรวดเร็วนั้นเรียกว่า"SnapZoom"เพื่อทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งไม่ควรจะใช้ บ่อยนัก
Focus คือ การปรับความคมชัดของภาพ คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Focus up"
Rack lens คือ การเปลี่ยนหรือหมุนเลนส์ที่อยู่บนจาน (Turret) ให้ตรงกับช่องเลนส์ที่ถ่ายภาพเพราะบนTurretจะมีเลนส์หลายตัว แต่ปัจจุบันนี้แบบนี้ไม่นิยมใช้แล้ว
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Rack lens" หรือ "Flip lens" ซึ่งปกติจะบอกจำเพาะเจาะจงลงไป ว่า Rack lens ชนิดใด

อ้างอิง http://www.gotoknow.org/blogs/posts/19758

คำศัพท์ทางภาพยนตร์ที่ควรรู้


คำศัพท์ทางภาพยนตร์ที่ควรรู้



คำศัพท์ทางภาพยนตร์ที่ควรรู้
Action - คำสั่งของผู้กำกับการแสดง ให้นักแสดงเริ่มแสดงตามคิว  หลังจากที่สั่งใกล้ช่างภาพเดินกล้องแล้ว*

Angle - มุมกล้อง  หมายถึงทิศทางหรือมุมกล้องที่กล้องทำมุมสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่าย

 Dutch Angle - มุมเอียง  การตั้งกล้องมุมนี้เป็นการแสดงภาพแทนความรู้สึกของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง  หรือการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึก  เวิ้งว้าง  วังเวง  พิกล ผิดอาเพศ

 Eye level Angle - มุมระดับสายตา  กล้องจะตั้งอยู่ในระดับสายตาของมนุษย์  ภาพที่ถูกบันทึกจะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เรียบง่าย  กับคนดู  และเหมือนกับการดึงคนดูเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์  มุมภาพในระดับนี้จะทำให้เราได้เห็น
รายละเอียดเพียงด้านเดียวเนื่องจากล้องจะตั้งในระดับเดียวกันกับวัตถุที่ถ่าย

High Angle - มุมสูง หรือ มุมก้ม  กล้งจะตั้งอยู่สูงกว่าวัตถุ  เวลาถ่ายต้องกดหน้ากล้องลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ต่ำกว่า  ภาพในมุมนี้จะทำให้คนดูเห็นว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นต่ำต้อย ด้อยค่า  ไร้ความหมาย  ตกต่ำ  สิ้นหวัง  แพ้พ่าย
และถ้าหากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้มุม ล้องเล่นกับคนดูด้วยแล้ว  จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ  สูงส่ง   เป็นผู้ควบคุมสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะตรงกันข้ามกับ Low Angle

Low Angle - มุมต่ำ หรือ มุมเงย  กล้องจะตั้งอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วเงยหน้ากล้องขึ้นมาเพื่อถ่ายวัตถุที่อยู่ สูงกว่า  ทั้งนี้บางครั้งนิยมถ่ายภาพเพื่อเน้นส่วนสำคัญหรือสร้างจุดสนใจให้กับวัตถุ ที่ถ่าย  เมื่อคนดูเห็นภาพในมุมนี้จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นสูงส่ง  มีค่า  ยิ่งใหญ่ อลังการ โอ่อ่า  น่าเกรงขาม  ในขนะเดียวกันก็จะทำให้คนดูรูสึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยกว่าวัตถุนั้นๆ  นิยมถ่ายโบราณสถาน  สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่  เพื่อทำให้รู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นยิ่งใหญ่
สูงค่า น่าเกรงขาม

Subjective - มุมแทนสายตาตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง  ซึ่งมุมจะเปลี่ยนไปตามอิริยาบทของตัวละครที่กล้องแทนสายตาอยู่  ไม่ว่าจะเดิน นั่งนอน

Boom - อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแขวนไมค์โครโฟน  มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆสามารถเคลื่อนย้ายได้  ที่ด้านปลายจะมีไมค์โครโฟนติดอยู่ไว้สำหรับบันทึกเสียงระหว่างการถ่ายทำ

Crane - ปั้นจั่นขนาดใหญ่ที่มีได้สำหรับติดตั้งกล้องภาพยนตร์  เพื่อนไว้ถ่ายภาพมุมสูง

Dolly - พาหนะที่มีล้อเลื่อนได้  สำหรับตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพในช็อตประเภท dolly shot, track หรือ truck

Slate - บอร์ดแสดงข้อมูลการถ่ายทำในแต่ละช็อต  ซึ่งจะมีข้อมูลของช็อตนั้นที่กำลังจะถ่ายเช่น  ชื่อภาพยนตร์  ฉาก  ช็อต  เทคที่เท่าไรชื่อผู้กำกับ  ช่างภาพ  ถ่ายกลางวันหรือกลางคืน  ภายนอกหรือภายใน  ฟิล์มม้วนที่เท่าไร  วันที่ถ่าย  เป็นต้น  ซึ่งก่อนการถ่ายผู้กำกับต้องสั่งให้ทีมงานนำ Slate เข้ามาโชว์ที่หน้ากล้องเพื่อบันทึกว่าสิ่งที่กำลังจะถ่ายต่อไปนี้คืออะไร  เพื่อเป็นประโยชน์ตอนตัดต่อ

Pan - คือการหันกล้องระหว่างที่มีการถ่ายทำจากซ้ายไปขวา  หรือจากขวาไปซ้าย  หากเราต้องการเน้นสิ่งใดให้แพนมาหยุดที่สิ่งนั้นเป็นส่งสุดท้าย
เช่น  "แพนจากภาพเด็กที่กำลังยืนมองตั้งหนังสือการตูนเรื่องโปรดที่สะสมมาตั้งแต่ เด็ก  ที่มีมากมายมหาศาล  แพนไปหาชั้นวางหนังสือที่มีที่ว่างพอสำหรับหนังสือไม่กี่สิบเล่ม"  เป็นต้น  เท่านี้คนดูก็อาจเข้าใจได้ว่าเด็กคนนี้กำลังประสบปัญหาไม่มีที่เก็บหนังสือ การ์ตูนของตัวเองแม้จะไม่มีบทพูดใดๆให้คนดูได้ทราบาก่อนเลยก็ตาม  ในช็อตนี้ภาพยนตร์กำลังสื่อว่าต้องการเน้นที่ชั้นวางหนังสือ  เพราะแพนมาสิ้นสุดที่ชั้นว่าง

Tilt - คือการกดกล้องลงหรือเงยขึ้นระหว่างที่ถ่ายทำ (ลักษณะจะคล้าย pan แต่เปลี่ยนจากซ้าย-ขวา เป็นบน-ล่าง) การสื่อความหมายจะคล้ายกับ pan
 คือ ต้องการเน้นสิ่งใดก็ให้ Tilt ไปหยุดที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้าย เช่น "กล้องแทนสายตาของฝ่ายชายที่กำลังตะลึงกับครั้งแรกที่เจอสาวสวย
 จนถึง ขนาดต้องกวาดสายตาตั้งแต่ปลายเท้าของฝ่ายหญิง  เรื่อยขึ้นมาจนถึงใบหน้า  ( กล้องจะ tilt up )จนลืมไปว่าเป็นการเสียมารยาท"  เป็นต้น
 ในลักษณะนี้จะเป็นการเน้นที่หน้าของฝ่ายหญิงมากกว่าเรือนร่าง

Cue - (อ่านว่า "คิว")  เป็นสัญญาณบอกนักแสดงให้เริ่มแสดง  ส่วนใหญ่จะเป็น cue ที่ 2 เป็นต้นไป  เพราะcue แรกเป็นการสั่ง action ของผู้กำกับอยู่แล้ว
 เช่น "เมื่อผู้กำกับสั่ง action นักศึกษาในห้องก็เริ่มเล่นกันคุยกันระหว่างรออาจารย์มาสอน  จากนั้นผู้กำกับก็จะให้ cue กับนักแสดงที่รับบทเป็นอาจารย์
 เดินเข้ามา"  เป็นต้น  ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นอะไรก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

Shot - เป็นการบันทึกภาพในแต่ละครั้ง  กล่าวคือ  เริ่มกดปุ่มบันทึกภาพหนึ่งครั้งและกดปุ่มหยุดบันทึกอีกหนึ่งครั้ง  นับเป็น 1 shot

Cut - เป็นการสั่งของผู้กำกับเพื่อให้หยุดการบันทึกของช็อตนั้น  ซึ่งทีมงานในกองถ่ายอีกคนหนึ่งที่สามารถสั่งได้  นั้นก็คือคนที่ทำหน้าที่ Continuity

Cut-Away - ช็อตเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินเรื่องหลักอยู่  เช่น "เจ้านายกำลังขับรถเลี้ยวเข้าบ้าน  ตัดภาพเป็น cut-away ที่ภาพคนรับใช้
 ที่กำลังออกมารอต้อนรับ" เป็นต้น

Cut-In - ภาพระยะใกล้ (insert) ของเหตุการ์ที่กำลังดำเนินอยู่  เช่น "ภาพระดับสายตาคนกำลังพายเรืออยู่ในคลองแถวบ้าน  และตัดเป็นภาพ cut-in ไปที่
 ไม้พายที่กำลังแหวกน้ำ" เป็นต้น

Continuity - ตำแหน่งผู้ควบคุมความต่อเนื่อง  ส่วนใหญ่จะนิยมให้ผู้หญิงทำหน้าที่นี้  เนื่องจากต้องใช้ความรอบคอบและความช่างสังเกตุสูง  หน้าที่คือ
 ควบคุมความต่อเนื่องระหว่างช็อตแต่ละช็อต  เป็นต้นว่า  ช็อตแรกถ่ายคนกำลังเปิดประตูจากด้านนอกด้วยมือขวา  เมื่อคัทช็อตมาถ่ายด้านใน
 ตอนเปิดประตูเข้ามาแล้วก็ต้องเป็นมือขวาที่กำลังกำลูกบิดประตูอยู่

Script - บทภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์  อาจจะเขียนขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงมาจากวรรณกรรม  นวนิยาย  เรื่องสั้น  ก็ได้  การเขียนบทภาพยนตร์
 มีขั้นตอนดังนี้

 -Theme  -แก่นของเรื่อง
 Synopsis - แนวความคิดหลัก  และโครงสร้างของภาพยนตร์แบบกระชับ
 Plot - การวางโครงเรื่องหลักๆ
 Treatment - เป็นการขยายเรื่อง (Plot) ตั้งแต่ต้นจนจบอกมาในลักษณะความเรียง
 Screenplay - บทภาพยนตร์สำหรับนักแสดงเอาไว้อ่าน  ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวสถานที่ วัน เวลา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละฉาก  พร้อมบทสนทนา
 Storybord - ภาพประกอบเหตุการณ์ในแต่ละช็อต  เพื่อให้การถ่ายทำได้เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน
 Shooting Script - เป็นบทถ่ายภาพยนตร์สำหรับทีมงาน  ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิค  การวางตำแหน่งกล้อง  การเคลื่อนกล้อง  ขนาดภาพ มุมภาพ
  เป็นศัพท์และคำย่อเฉพาะทางด้านภาพยนตร์ทั้งสิ้น  จึงเหมาะสำหรับทีมงานของกองถ่ายนั้นๆ  หรือผู้ที่ศึกษามาทางภาพยนตร์โดยเฉพาะ
 Break Down Script - การแตกบทภาพยนตร์ออกเป็นหมวดหมู่  เพื่อสะดวกในการถ่ายทำ  เพราะไม่จำเป็นต้องถ่ายเรียงทีละฉากตามที่ระบุไว้ใน Script
  และนำมาตัดต่อภายหลัง  หรือเรียกอีกอย่างว่า  การเจาะถ่าย
 หมาย เหตุ  *ในการถ่ายทำภาพยนตร์แต่ละช็อตนั้น  ก่อนที่ผู้กำกับจะสั่ง Action ผู้กำกับจะเช็คความพร้อมของนักแสดงและทีมงานก่อนเมื่อทุกอย่างพร้อม  ผูกำกับจะสั่งให้ผู้ควบคุมเทปเดินเทป  และช่างภาพเดินกล้อง  จากนั้นจะสั่งให้Slate Man นำSlate มามาร์คที่หน้ากล้อง  เสร็จแล้วจึงสั่ง Action

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=67525

ศัพท์เทคนิคทางโทรทัศน์

ศัพท์เทคนิคทางโทรทัศน์

Action  – คำสั่งของผู้กำกับการแสดง ให้นักแสดงเริ่มแสดงตามคิว  หลังจากที่สั่งใกล้ช่างภาพเดินกล้องแล้ว*

Angle – มุมกล้อง  หมายถึงทิศทางหรือมุมกล้องที่กล้องทำมุมสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่าย

Art House : โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กที่มีการจัดฉายภาพยนตร์ให้กับกลุ่มผู้ชมเฉพาะกลุ่มที่ เป็นคอหนังหรือแฟนหนัง (แฟนพันธุ์แท้หนังอาร์ต) จริงๆ เช่น ผู้ชมที่สนใจหนังในเชิงศิลปะมากกว่าความบันเทิง หรือสนใจผลงานของผู้กำกับมากกว่าตัวดารา ภาพยนตร์ที่จัดฉายจะเป็นภาพยนตร์ที่มีแนวคิดแอบแฝง อาจมีรางวัลจากการประกวดก็ได้ จนไปถึงภาพยนตร์เชิงทดลอง หรือผิดแผกแตกต่างจากภาพยนตร์ทั่วไป จนบางครั้งคนทั่วไปขนานนามว่า “ภาพยนตร์ที่ต้องปีนบันไดดู”

Black Comedy : ละคร นิยาย หรือภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะตลกร้ายเฉพาะตัว นำเสนอออกมาในลักษณะเสียดสี ประชด แดกดัน เช่น ตลกแนววิตถาร เครียด ขมขื่น มองโลกในแง่ร้าย หรือเจ็บปวด

Break Down Script – การแตกบทภาพยนตร์ออกเป็นหมวดหมู่  เพื่อสะดวกในการถ่ายทำ  เพราะไม่จำเป็นต้องถ่ายเรียงทีละฉากตามที่ระบุไว้ใน Scriptและนำมา ตัดต่อภายหลัง  หรือเรียกอีกอย่างว่า  การเจาะถ่าย

Boom – อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแขวนไมค์โครโฟน  มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆสามารถเคลื่อนย้ายได้  ที่ด้านปลายจะมีไมค์โครโฟนติดอยู่ไว้สำหรับบันทึกเสียงระหว่าง การถ่ายทำ

Cinch Marks : รอยขีดข่วนเป็นทางยาวแนวดิ่งบนแผ่นฟิล์มซึ่งเกิดจากดึงฟิล์มตึงเกินไปขณะพัน รอบม้วน ทำให้เนื้อฟิล์มสัมผัสเสียดสีกับแกนยึดฟิล์มเวลาฉาย รอยจะเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ใช้งาน มักพบเห็นบนภาพยนตร์ของขบวนหนังเร่ หรือหนังกลางแปลงที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “รอยสายฝน” หรือ “หนังฝนตก” เป็นต้น

Continuity – ตำแหน่งผู้ควบคุมความต่อเนื่อง  ส่วนใหญ่จะนิยมให้ผู้หญิงทำหน้าที่นี้  เนื่องจากต้องใช้ความรอบคอบและความช่างสังเกตุสูง

Crane – ปั้นจั่นขนาดใหญ่ที่มีได้สำหรับติดตั้งกล้องภาพยนตร์  เพื่อนไว้ถ่ายภาพมุมสูง

Cue – (อ่านว่า “คิว”)  เป็นสัญญาณบอกนักแสดงให้เริ่มแสดง  ส่วนใหญ่จะเป็น cue ที่ 2 เป็นต้นไป  เพราะcue แรกเป็นการสั่ง action ของผู้กำกับอยู่แล้วเช่น “เมื่อผู้กำกับสั่ง action นักศึกษาในห้องก็เริ่มเล่นกันคุยกันระหว่างรออาจารย์มาสอน  จากนั้นผู้กำกับก็จะให้ cue กับนักแสดงที่รับบทเป็นอาจารย์เดินเข้า มา”  เป็นต้น  ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นอะไรก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

Cut – เป็นการสั่งของผู้กำกับเพื่อให้หยุดการบันทึกของช็อตนั้น  ซึ่งทีมงานในกองถ่ายอีกคนหนึ่งที่สามารถสั่งได้  นั้นก็คือคนที่ทำหน้าที่ Continuity

Cut-Away – ช็อตเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินเรื่องหลักอยู่  เช่น “เจ้านายกำลังขับรถเลี้ยวเข้าบ้าน  ตัดภาพเป็น cut-away ที่ภาพคนรับใช้ที่ กำลังออกมารอต้อนรับ” เป็นต้น

Cut-In –   ภาพระยะใกล้ (insert) ของเหตุการ์ที่กำลังดำเนินอยู่  เช่น “ภาพระดับสายตาคนกำลังพายเรืออยู่ในคลองแถวบ้าน  และตัดเป็นภาพ cut-in ไปที่ไม้พายที่กำลังแหวกน้ำ” เป็นต้น

Day for Night Shooting : ฉากที่ถ่ายทำในเวลากลางวัน แต่ให้ภาพออกมาเหมือนกับฉากตอนกลางคืน สามารถทำได้โดยใช้ฟิลเตอร์พิเศษใส่หน้ากล้องขณะถ่ายทำ หรือสามารถทำในห้องแล็ปโดยใช้เทคนิคพิเศษ

Dolly – พาหนะที่มีล้อเลื่อนได้  สำหรับตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพในช็อตประเภท dolly shot, track หรือ truck

Dutch Angle – มุมเอียง  การตั้งกล้องมุมนี้เป็นการแสดงภาพแทนความรู้สึกของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง  หรือการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึก  เวิ้งว้าง  วังเวง  พิกล ผิดอาเพศ

Extra : ตัวประกอบ เป็นนักแสดงที่จ้างเป็นรายวัน เพื่อรับบทเล็กๆ น้อยๆ ตัวประกอบจะไม่มีบทพูด หรือส่งเสียงโต้ตอบใดๆ ทั้งสิ้น มักเป็นตัวประกอบในฉากยกทัพในสนามรบ หรือผู้คนมากมายในงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือเดินผ่านไปมาเพื่อบรรยากาศพุกพ่ามของผู้คนในสวนสาธารณะ

Eye level Angle – มุมระดับสายตา  กล้องจะตั้งอยู่ในระดับสายตาของมนุษย์  ภาพที่ถูกบันทึกจะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เรียบง่าย  กับคนดู  และเหมือนกับการดึงคนดูเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ มุมภาพในระดับนี้จะทำให้เราได้เห็นรายละเอียดเพียงด้านเดียวเนื่องจา กล้องจะตั้งในระดับเดียวกันกับวัตถุที่ถ่าย

Film : แผ่นเซลลูลอยด์บางๆ ฉาบด้วยสารไวแสง สามารถบันทึกภาพได้ มีรูหนามเตยที่ขอบเพื่อช่วยในการ Load ฟิล์ม ใช้ในงานถ่ายภาพนิ่ง และภาพยนตร์ ฟิล์มมีหลายประเภทและขนาดความไวแสงตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ฟิล์ม Day light สำหรับงานถ่ายภาพกลางวัน, ฟิล์ม Tungsten สำหรับถ่ายกลางคืน ช่วยตัดแสงสีเหลืองจากหลอดไฟ หากนำมาถ่ายในตอนกลางวันจะได้ภาพสีอมฟ้า เป็นต้น

Flash Cut : การตัดมีแสงสว่างแวบ เป็นการตัดต่อภาพเพื่อสร้างรู้สึกทางอารมณ์ หรือเพื่อแสดงความไม่ต่อเนื่องของช่วงเวลา เพื่อย้อยสู่อดีตหรือไปสู่อนาคต

Footage : ฟิล์มภาพยนตร์ช่วงหนึ่ง หรือตอนหนึ่ง ที่มีความยาววัดเป็นฟุต เช่น Footage ทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่เมืองไทย

Grips : ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการซ่อมแซม บำรุง รักษา และดัดแปลงอุปกรณ์ฉากที่ใช้แล้ว ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหลายๆ ครั้ง เพราะส่วนมากฉากบางฉากนั้นไม่ได้ถ่ายเสร็จภายในครั้งเดียว อาจจะใช้ทั้งเรื่องก็ได้

High Angle – มุมสูง หรือ มุมก้ม  กล้งจะตั้งอยู่สูงกว่าวัตถุ  เวลาถ่ายต้องกดหน้ากล้องลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ต่ำกว่า  ภาพในมุมนี้จะทำให้คนดูเห็นว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นต่ำต้อย ด้อยค่า  ไร้ความหมาย  ตกต่ำ  สิ้นหวัง  แพ้พ่ายและถ้าหากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้มุม ล้องเล่นกับคนดูด้วยแล้ว  จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ  สูงส่ง   เป็นผู้ควบคุมสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะตรงกันข้ามกับ Low Angle

Jump Cut : การเปลี่ยนช็อตอย่างฉับพลันโดยการตัดภาพ ให้ผลในด้านความไม่ต่อเนื่องของเวลา และสถานที่ ทำให้เนื้อเรื่องกระโดดไปกระโดดมา

Low Angle – มุมต่ำ หรือ มุมเงย  กล้องจะตั้งอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วเงยหน้ากล้องขึ้นมาเพื่อถ่ายวัตถุที่อยู่ สูงกว่า  ทั้งนี้บางครั้งนิยมถ่ายภาพเพื่อเน้นส่วนสำคัญหรือสร้างจุดสนใจให้กับวัตถุ ที่ถ่าย  เมื่อคนดูเห็นภาพในมุมนี้จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นสูงส่ง  มีค่า  ยิ่งใหญ่ อลังการ โอ่อ่า  น่าเกรงขาม  ในขนะเดียวกันก็จะทำให้คนดูรูสึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยกว่าวัตถุนั้นๆ  นิยมถ่ายโบราณสถาน  สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่  เพื่อทำให้รู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นยิ่งใหญ่สูงค่า น่าเกรงขาม

Pan – คือการหันกล้องระหว่างที่มีการถ่ายทำจากซ้ายไปขวา  หรือจากขวาไปซ้าย  หากเราต้องการเน้นสิ่งใดให้แพนมาหยุดที่สิ่งนั้นเป็นส่งสุดท้ายเช่น  “แพนจากภาพเด็กที่กำลังยืนมองตั้งหนังสือการตูนเรื่องโปรดที่สะสมมาตั้งแต่ เด็ก  ที่มีมากมายมหาศาล  แพนไปหาชั้นวางหนังสือที่มีที่ว่างพอสำหรับหนังสือไม่กี่สิบเล่ม”  เป็นต้น  เท่านี้คนดูก็อาจเข้าใจได้ว่าเด็กคนนี้กำลังประสบปัญหาไม่มีที่เก็บหนังสือ การ์ตูนของตัวเองแม้จะไม่มีบทพูดใดๆให้คนดูได้ทราบาก่อนเลยก็ตาม  ในช็อตนี้ภาพยนตร์กำลังสื่อว่าต้องการเน้นที่ชั้นวางหนังสือ  เพราะแพนมาสิ้นสุดที่ชั้นว่าง

Plot – การวางโครงเรื่องหลักๆ

Props : วัสดุ หรืออุปกรณ์ประกอบฉากในการถ่ายทำ บางครั้งอาจมีอยู่ในฉากแต่ไม่ได้ถูกถ่ายในเฟรมก็ได้ แต่จะจัดหามาเพื่อบรรยากาศของการแสดง เพื่อสื่อให้คนดูรู้สึกว่ามีสิ่งนั้นอยู่จริงๆ ทั้งทีไม่ได้ปรากฏบนแผ่นฟิล์มเลย ผู้กำกับบางคนชอบใช้วิธีนี้ในการคุมอารมณ์ของหนัง คำว่า Props ย่อมาจากคำว่า Properties

Scene : ฉากๆ หนึ่งในภาพยนตร์ เป็นหน่วยย่อยรองมาจาก Sequence (ตอนๆ หนึ่ง) ซึ่งประกอบด้วยช็อตหลายๆ ช็อตที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน และมีการกระทำต่อเนื่องของช็อตเหล่านี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุ เป็นผลต่อเนื่อง และภาพยนตร์ Art บางเรื่องนิยมถ่ายช็อตเดียวทิ้งยาวในฉากเดียวโดยไม่มีการตัดต่อเพิ่มเติมใดๆ เช่น ภาพยนตร์จากญี่ปุ่น

Screenplay – บทภาพยนตร์สำหรับนักแสดงเอาไว้อ่าน  ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวสถานที่ วัน เวลา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละฉาก  พร้อมบทสนทนา

Script – บทภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์  อาจจะเขียนขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงมาจากวรรณกรรม  นวนิยาย  เรื่องสั้น

Sequence : ตอนๆ หนึ่งของภาพยนตร์ ซึ่งเกิดจากซีน (Scene) หลายๆ ซีนมารวมกัน มีความสมบูรณ์ในตัวเอง อาจเริ่มต้นและจบลงด้วยการเชื่อมภาพแบบ fade, dissolve หรือ cut ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะประกอบด้วย Sequence หลายๆ Sequence มารวมกันเป็นเรื่องราว เช่น Sequence ตอนพระเอกยังวัยเด็ก, Sequence ตอนพระเอกพบรักครั้งแรก เป็นต้น

Shot – เป็นการบันทึกภาพในแต่ละครั้ง  กล่าวคือ  เริ่มกดปุ่มบันทึกภาพหนึ่งครั้งและกดปุ่มหยุดบันทึกอีกหนึ่งครั้ง  นับเป็น 1 shot

Shooting Script – เป็นบทถ่ายภาพยนตร์สำหรับทีมงาน  ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิค  การวางตำแหน่งกล้อง  การเคลื่อนกล้อง  ขนาดภาพ มุมภาพ  เป็นศัพท์และคำ ย่อเฉพาะทางด้านภาพยนตร์ทั้งสิ้น  จึงเหมาะสำหรับทีมงานของกองถ่ายนั้นๆ  หรือผู้ที่ศึกษามาทางภาพยนตร์โดยเฉพาะ

Slate : แผ่นกระดานชนวน ที่ใช้ถ่ายก่อนการถ่ายทำในแต่ละเทค โดยมีการขีดเขียน หรือบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเทคนั้นๆ เพื่อให้คนตัดต่อได้ทราบว่าเทคนั้นเป็นเทคที่เท่าใด และจะมีไม้ตีเกี่ยวอยู่ข้างบน เพื่อทำให้เกิดเสียง เมื่อเวลาตัดต่อจะสามารถเชื่อมภาพกับเสียงเข้าด้วยกัน ทำให้เสียงพูดกับปากนักแสดงตรงกัน และหากเทคใดลืมถ่าย Slate ก็ให้ถ่ายในตอนท้ายของเทคนั้น โดยถ่ายแผ่น Slate กลับหัว

Slate – บอร์ดแสดงข้อมูลการถ่ายทำในแต่ละช็อต  ซึ่งจะมีข้อมูลของช็อตนั้นที่กำลังจะถ่ายเช่น  ชื่อภาพยนตร์  ฉาก  ช็อต  เทคที่เท่าไรชื่อผู้กำกับ  ช่างภาพ  ถ่ายกลางวันหรือกลางคืน  ภายนอกหรือภายใน  ฟิล์มม้วนที่เท่าไร  วันที่ถ่าย  เป็นต้น  ซึ่งก่อนการถ่ายผู้กำกับต้องสั่งให้ทีมงานนำ Slate เข้ามาโชว์ที่หน้ากล้องเพื่อบันทึกว่าสิ่งที่กำลังจะถ่ายต่อไปนี้คืออะไร  เพื่อเป็นประโยชน์ตอนตัดต่อ

Skin Flick : ภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นเนื้อหนังมังสา สัดส่วนโค้งเว้า โดยมากจะเป็นภาพของสตรี แต่ก็ไม่เสมอไป เป็นการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของคนดูจากความงามที่นำเสนอ แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องลามกอนาจาร เช่นเรื่อง Apple Knockers and the Coke ก่อนปี ค.ศ. 1948 ของ Marilyn Monroe โดยที่เธอปรากฎกายในลักษณะเปลือยเปล่า กำลังเล่นกับลูกแอปเปิ้ล และขวดโคล่าอย่างมีเลศนัย ซึ่งภาพยนตร์ในบัจจุบันนิยมกันมากเพื่อเป็นจุดขายมากกว่าภาพศิลปะ

Storybord – ภาพประกอบเหตุการณ์ในแต่ละช็อต  เพื่อให้การถ่ายทำได้เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน

Subjective – มุมแทนสายตาตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง  ซึ่งมุมจะเปลี่ยนไปตามอิริยาบทของตัวละครที่กล้องแทนสายตาอยู่  ไม่ว่าจะ เดิน นั่งนอน

Synopsis – แนวความคิดหลัก  และโครงสร้างของภาพยนตร์แบบกระชับ

Theme  -แก่นของเรื่อง

Tilt – คือการกดกล้องลงหรือเงยขึ้นระหว่างที่ถ่ายทำ (ลักษณะจะคล้าย pan แต่เปลี่ยนจากซ้าย-ขวา เป็นบน-ล่าง) การสื่อความหมายจะคล้ายกับ pan คือ ต้องการเน้นสิ่งใดก็ให้ Tilt ไปหยุดที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้าย เช่น “กล้องแทนสายตาของฝ่ายชายที่กำลังตะลึงกับครั้งแรกที่เจอสาวสวย จนถึง ขนาดต้องกวาดสายตาตั้งแต่ปลายเท้าของฝ่ายหญิง  เรื่อยขึ้นมาจนถึงใบหน้า  ( กล้องจะ tilt up )จนลืมไปว่าเป็นการเสียมารยาท”  เป็นต้นในลักษณะนี้จะ เป็นการเน้นที่หน้าของฝ่ายหญิงมากกว่าเรือนร่าง

Treatment – เป็นการขยายเรื่อง (Plot) ตั้งแต่ต้นจนจบอกมาในลักษณะความเรียง

อ้างอิง http://taditida.blogspot.com/2012/02/blog-post.html