วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Pixel

     จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้ จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ


    ขนาดแสดงภาพมาตรฐานมาดังนี้:

VGA 0.3 ล้านพิกเซล= 640×480
SVGA 0.5 ล้านพิกเซล= 800×600
XGA 0.8 ล้านพิกเซล= 1024×768 (หรืออาจเรียก XVGA)
SXGA 1.3 ล้านพิกเซล= 1280×1024
EXGA 1.4 ล้านพิกเซล= 1400×1050
UXGA 1.9 ล้านพิกเซล= 1600×1200
QXGA 3.1 ล้านพิกเซล= 2048×1536
QSXGA 5.2 ล้านพิกเซล= 2560×2048
WQSXGA 6.6 ล้านพิกเซล= 3200×2048
QUXGA 7.7 ล้านพิกเซล= 3200×2400
WQUXGA 9.2 ล้านพิกเซล= 3840×2400

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5

ภาพ raster และ vector

               
                 ภาพ raster และ vector



Raster Graphic โปรแกรมปรับแต่งภาพส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ มักจะทำงานกับภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution) นั่นคือ มีจำนวนพิกเซลที่แน่นอนในการแสดงภาพ ดังนั้นจากตัวอย่างในภาพที่ 1 คุณจะเห็นว่าเมื่อภาพถูกขยาย หรือพิมพ์ด้วยความละเอียดไม่มากพอภาพจะสูญเสียรายละเอียด และปรากฏเป็นรอยหยักอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามภาพแบบบิตแมป ถือเป็นรูปแบบที่เหมาะกับภาพที่มีเฉดและสีสันจำนวนมาก เช่น ภาพถ่าย หรือภาพวาด


Vector Graphic ภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator,Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors) ข้อดีของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ คุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้

อ้างอิง http://www.edu-mine.com/photoshop/lesson1_RasterVector.html

ชนิดไฟล์รูปภาพ

                     
                        ชนิดไฟล์รูปภาพ



(1) JPG , JPEG (.jpg ) อันนี้เป็นไฟล์ยอดฮิตที่ชาวอินเตอร์เน็ตกำลังใช้อยู่ มันสามารถขยาย บีบอัดไฟล์ได้และคุณภาพก็พอรับได้ คือเหมาะกับจะนำไปใช้กับเว็บไซด์มากกว่า ยังสามารถใช้กับงานสิ่งพิมพ์บางงานที่ไม่เน้นคุณภาพมากนัก

(2) GIF (.gif) ส่วนไฟล์ชนิดนี้ เป็นไฟล์ที่จะถูกอัดบีบให้เล็กลง แน่นอน ความละเอียดชมชัดของภาพก็จะน้อยลงตามไปด้วย เท่าที่เห็นๆจะเหมาะกับใช้กับภาพพวกการ์ตูนมากกว่า ไม่เหมาะกับภาพถ่ายเนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีแค่ 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่คุณสมบัติที่ แตกต่างออกไปคือสามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ หรือที่เรียกกันว่า GIF Animation

(3) PNG (.png) เหมาะมาสำหรับใช้ในเว็บไซค์ สามารถบีบอัดไฟล์ได้เล็กอยู่ แต่ยังคงคุณภาพไว้ มีระดับการใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี เท่าที่ดูๆแล้ว คุณสมบัติบางอย่างจะคล้ายกับ GIF แต่คุณภาพแน่นอนแหละจะดีกว่าอยู่แล้ว คาดว่า จะมีการนำมาแทนนี้ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว

(4) BMP (.bmp) ชนิดไฟล์นี้แสดงผลได้ถึง 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถนำไปเปิดใช้งานได้ในหลายโปรแกรม แต่แน่นอน คุณภาพไม่เท่า JPG

(5) Photoshop (.psd) กลับมาพูดถึงชนิดไฟล์อื่นๆที่ไม่ค่อยได้เจอละกัน ชนิดไฟล์นี้ชื่อก็บอกว่า ใช้กับโปรแกรมอะไร ซึ่งชนิดไฟล์นี้จะดีมาก เวลาเซฟแล้ว มันยังจะเซฟเป็นแบบแยก เลเยอร์ให้ สามารถนำกลับมาแก้ไขได้ แน่นอน ไม่สามารถใช้กับโปรแกรมอื่นๆได้แต่แนะนำว่า เวลาทำงานไหนในโปรแกรม แนะนำให้เซฟเป็นไฟล์นี้ก่อน จะได้เรียกกลับมาแก้ไขได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำอีก

(6) TIFF (.tif) เป็นสกุลที่มีความยืดหยุ่น คุณภาพที่สูงสุดๆ เซฟภาพได้ทั้งในโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะมากสำหรับใช้ในการสื่อสิ่งพิมพ์

7. EPS (.eps) ไฟล์นี้สามารถนำไปเปิดใช้ได้ในโปรแกรม Illustrator และก็ยังสามารถบันทึกได้ ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector และ Rastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap

8. PICT (.pic) เป็นแบบมาตรฐานในการเซฟภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh สามารถแสดงผลสีได้16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดภาพได้เช่นกัน แต่แค่ซัพพอร์ตโหมด RGB เท่านั้นคับ

9. RAW (.raw) เหมาะสำหรับภาพถ่ายมากๆ สกุลนี้ ไม่มีการบีบอัดภาพเลย รายละเอียดต่างๆ ก็ยังครบถ้วยสมบูรณ์เลยคับ ซึ่งแน่นอน ขนาดไฟล์ก็ใหญ่สุดๆคับ ปัจจุบันหาโปรแกรมเปิดไฟล์ชนิดนี้ ยากอยู่นะคับ

10. BMP (.bmp) ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล1 การอ้างอิง

อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3d14b46673474750