วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศัพท์เทคนิคทางโทรทัศน์

ศัพท์เทคนิคทางโทรทัศน์

Action  – คำสั่งของผู้กำกับการแสดง ให้นักแสดงเริ่มแสดงตามคิว  หลังจากที่สั่งใกล้ช่างภาพเดินกล้องแล้ว*

Angle – มุมกล้อง  หมายถึงทิศทางหรือมุมกล้องที่กล้องทำมุมสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่าย

Art House : โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กที่มีการจัดฉายภาพยนตร์ให้กับกลุ่มผู้ชมเฉพาะกลุ่มที่ เป็นคอหนังหรือแฟนหนัง (แฟนพันธุ์แท้หนังอาร์ต) จริงๆ เช่น ผู้ชมที่สนใจหนังในเชิงศิลปะมากกว่าความบันเทิง หรือสนใจผลงานของผู้กำกับมากกว่าตัวดารา ภาพยนตร์ที่จัดฉายจะเป็นภาพยนตร์ที่มีแนวคิดแอบแฝง อาจมีรางวัลจากการประกวดก็ได้ จนไปถึงภาพยนตร์เชิงทดลอง หรือผิดแผกแตกต่างจากภาพยนตร์ทั่วไป จนบางครั้งคนทั่วไปขนานนามว่า “ภาพยนตร์ที่ต้องปีนบันไดดู”

Black Comedy : ละคร นิยาย หรือภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะตลกร้ายเฉพาะตัว นำเสนอออกมาในลักษณะเสียดสี ประชด แดกดัน เช่น ตลกแนววิตถาร เครียด ขมขื่น มองโลกในแง่ร้าย หรือเจ็บปวด

Break Down Script – การแตกบทภาพยนตร์ออกเป็นหมวดหมู่  เพื่อสะดวกในการถ่ายทำ  เพราะไม่จำเป็นต้องถ่ายเรียงทีละฉากตามที่ระบุไว้ใน Scriptและนำมา ตัดต่อภายหลัง  หรือเรียกอีกอย่างว่า  การเจาะถ่าย

Boom – อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแขวนไมค์โครโฟน  มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆสามารถเคลื่อนย้ายได้  ที่ด้านปลายจะมีไมค์โครโฟนติดอยู่ไว้สำหรับบันทึกเสียงระหว่าง การถ่ายทำ

Cinch Marks : รอยขีดข่วนเป็นทางยาวแนวดิ่งบนแผ่นฟิล์มซึ่งเกิดจากดึงฟิล์มตึงเกินไปขณะพัน รอบม้วน ทำให้เนื้อฟิล์มสัมผัสเสียดสีกับแกนยึดฟิล์มเวลาฉาย รอยจะเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ใช้งาน มักพบเห็นบนภาพยนตร์ของขบวนหนังเร่ หรือหนังกลางแปลงที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “รอยสายฝน” หรือ “หนังฝนตก” เป็นต้น

Continuity – ตำแหน่งผู้ควบคุมความต่อเนื่อง  ส่วนใหญ่จะนิยมให้ผู้หญิงทำหน้าที่นี้  เนื่องจากต้องใช้ความรอบคอบและความช่างสังเกตุสูง

Crane – ปั้นจั่นขนาดใหญ่ที่มีได้สำหรับติดตั้งกล้องภาพยนตร์  เพื่อนไว้ถ่ายภาพมุมสูง

Cue – (อ่านว่า “คิว”)  เป็นสัญญาณบอกนักแสดงให้เริ่มแสดง  ส่วนใหญ่จะเป็น cue ที่ 2 เป็นต้นไป  เพราะcue แรกเป็นการสั่ง action ของผู้กำกับอยู่แล้วเช่น “เมื่อผู้กำกับสั่ง action นักศึกษาในห้องก็เริ่มเล่นกันคุยกันระหว่างรออาจารย์มาสอน  จากนั้นผู้กำกับก็จะให้ cue กับนักแสดงที่รับบทเป็นอาจารย์เดินเข้า มา”  เป็นต้น  ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นอะไรก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

Cut – เป็นการสั่งของผู้กำกับเพื่อให้หยุดการบันทึกของช็อตนั้น  ซึ่งทีมงานในกองถ่ายอีกคนหนึ่งที่สามารถสั่งได้  นั้นก็คือคนที่ทำหน้าที่ Continuity

Cut-Away – ช็อตเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินเรื่องหลักอยู่  เช่น “เจ้านายกำลังขับรถเลี้ยวเข้าบ้าน  ตัดภาพเป็น cut-away ที่ภาพคนรับใช้ที่ กำลังออกมารอต้อนรับ” เป็นต้น

Cut-In –   ภาพระยะใกล้ (insert) ของเหตุการ์ที่กำลังดำเนินอยู่  เช่น “ภาพระดับสายตาคนกำลังพายเรืออยู่ในคลองแถวบ้าน  และตัดเป็นภาพ cut-in ไปที่ไม้พายที่กำลังแหวกน้ำ” เป็นต้น

Day for Night Shooting : ฉากที่ถ่ายทำในเวลากลางวัน แต่ให้ภาพออกมาเหมือนกับฉากตอนกลางคืน สามารถทำได้โดยใช้ฟิลเตอร์พิเศษใส่หน้ากล้องขณะถ่ายทำ หรือสามารถทำในห้องแล็ปโดยใช้เทคนิคพิเศษ

Dolly – พาหนะที่มีล้อเลื่อนได้  สำหรับตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพในช็อตประเภท dolly shot, track หรือ truck

Dutch Angle – มุมเอียง  การตั้งกล้องมุมนี้เป็นการแสดงภาพแทนความรู้สึกของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง  หรือการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึก  เวิ้งว้าง  วังเวง  พิกล ผิดอาเพศ

Extra : ตัวประกอบ เป็นนักแสดงที่จ้างเป็นรายวัน เพื่อรับบทเล็กๆ น้อยๆ ตัวประกอบจะไม่มีบทพูด หรือส่งเสียงโต้ตอบใดๆ ทั้งสิ้น มักเป็นตัวประกอบในฉากยกทัพในสนามรบ หรือผู้คนมากมายในงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือเดินผ่านไปมาเพื่อบรรยากาศพุกพ่ามของผู้คนในสวนสาธารณะ

Eye level Angle – มุมระดับสายตา  กล้องจะตั้งอยู่ในระดับสายตาของมนุษย์  ภาพที่ถูกบันทึกจะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เรียบง่าย  กับคนดู  และเหมือนกับการดึงคนดูเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ มุมภาพในระดับนี้จะทำให้เราได้เห็นรายละเอียดเพียงด้านเดียวเนื่องจา กล้องจะตั้งในระดับเดียวกันกับวัตถุที่ถ่าย

Film : แผ่นเซลลูลอยด์บางๆ ฉาบด้วยสารไวแสง สามารถบันทึกภาพได้ มีรูหนามเตยที่ขอบเพื่อช่วยในการ Load ฟิล์ม ใช้ในงานถ่ายภาพนิ่ง และภาพยนตร์ ฟิล์มมีหลายประเภทและขนาดความไวแสงตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ฟิล์ม Day light สำหรับงานถ่ายภาพกลางวัน, ฟิล์ม Tungsten สำหรับถ่ายกลางคืน ช่วยตัดแสงสีเหลืองจากหลอดไฟ หากนำมาถ่ายในตอนกลางวันจะได้ภาพสีอมฟ้า เป็นต้น

Flash Cut : การตัดมีแสงสว่างแวบ เป็นการตัดต่อภาพเพื่อสร้างรู้สึกทางอารมณ์ หรือเพื่อแสดงความไม่ต่อเนื่องของช่วงเวลา เพื่อย้อยสู่อดีตหรือไปสู่อนาคต

Footage : ฟิล์มภาพยนตร์ช่วงหนึ่ง หรือตอนหนึ่ง ที่มีความยาววัดเป็นฟุต เช่น Footage ทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่เมืองไทย

Grips : ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการซ่อมแซม บำรุง รักษา และดัดแปลงอุปกรณ์ฉากที่ใช้แล้ว ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหลายๆ ครั้ง เพราะส่วนมากฉากบางฉากนั้นไม่ได้ถ่ายเสร็จภายในครั้งเดียว อาจจะใช้ทั้งเรื่องก็ได้

High Angle – มุมสูง หรือ มุมก้ม  กล้งจะตั้งอยู่สูงกว่าวัตถุ  เวลาถ่ายต้องกดหน้ากล้องลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ต่ำกว่า  ภาพในมุมนี้จะทำให้คนดูเห็นว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นต่ำต้อย ด้อยค่า  ไร้ความหมาย  ตกต่ำ  สิ้นหวัง  แพ้พ่ายและถ้าหากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้มุม ล้องเล่นกับคนดูด้วยแล้ว  จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ  สูงส่ง   เป็นผู้ควบคุมสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะตรงกันข้ามกับ Low Angle

Jump Cut : การเปลี่ยนช็อตอย่างฉับพลันโดยการตัดภาพ ให้ผลในด้านความไม่ต่อเนื่องของเวลา และสถานที่ ทำให้เนื้อเรื่องกระโดดไปกระโดดมา

Low Angle – มุมต่ำ หรือ มุมเงย  กล้องจะตั้งอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วเงยหน้ากล้องขึ้นมาเพื่อถ่ายวัตถุที่อยู่ สูงกว่า  ทั้งนี้บางครั้งนิยมถ่ายภาพเพื่อเน้นส่วนสำคัญหรือสร้างจุดสนใจให้กับวัตถุ ที่ถ่าย  เมื่อคนดูเห็นภาพในมุมนี้จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นสูงส่ง  มีค่า  ยิ่งใหญ่ อลังการ โอ่อ่า  น่าเกรงขาม  ในขนะเดียวกันก็จะทำให้คนดูรูสึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยกว่าวัตถุนั้นๆ  นิยมถ่ายโบราณสถาน  สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่  เพื่อทำให้รู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นยิ่งใหญ่สูงค่า น่าเกรงขาม

Pan – คือการหันกล้องระหว่างที่มีการถ่ายทำจากซ้ายไปขวา  หรือจากขวาไปซ้าย  หากเราต้องการเน้นสิ่งใดให้แพนมาหยุดที่สิ่งนั้นเป็นส่งสุดท้ายเช่น  “แพนจากภาพเด็กที่กำลังยืนมองตั้งหนังสือการตูนเรื่องโปรดที่สะสมมาตั้งแต่ เด็ก  ที่มีมากมายมหาศาล  แพนไปหาชั้นวางหนังสือที่มีที่ว่างพอสำหรับหนังสือไม่กี่สิบเล่ม”  เป็นต้น  เท่านี้คนดูก็อาจเข้าใจได้ว่าเด็กคนนี้กำลังประสบปัญหาไม่มีที่เก็บหนังสือ การ์ตูนของตัวเองแม้จะไม่มีบทพูดใดๆให้คนดูได้ทราบาก่อนเลยก็ตาม  ในช็อตนี้ภาพยนตร์กำลังสื่อว่าต้องการเน้นที่ชั้นวางหนังสือ  เพราะแพนมาสิ้นสุดที่ชั้นว่าง

Plot – การวางโครงเรื่องหลักๆ

Props : วัสดุ หรืออุปกรณ์ประกอบฉากในการถ่ายทำ บางครั้งอาจมีอยู่ในฉากแต่ไม่ได้ถูกถ่ายในเฟรมก็ได้ แต่จะจัดหามาเพื่อบรรยากาศของการแสดง เพื่อสื่อให้คนดูรู้สึกว่ามีสิ่งนั้นอยู่จริงๆ ทั้งทีไม่ได้ปรากฏบนแผ่นฟิล์มเลย ผู้กำกับบางคนชอบใช้วิธีนี้ในการคุมอารมณ์ของหนัง คำว่า Props ย่อมาจากคำว่า Properties

Scene : ฉากๆ หนึ่งในภาพยนตร์ เป็นหน่วยย่อยรองมาจาก Sequence (ตอนๆ หนึ่ง) ซึ่งประกอบด้วยช็อตหลายๆ ช็อตที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน และมีการกระทำต่อเนื่องของช็อตเหล่านี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุ เป็นผลต่อเนื่อง และภาพยนตร์ Art บางเรื่องนิยมถ่ายช็อตเดียวทิ้งยาวในฉากเดียวโดยไม่มีการตัดต่อเพิ่มเติมใดๆ เช่น ภาพยนตร์จากญี่ปุ่น

Screenplay – บทภาพยนตร์สำหรับนักแสดงเอาไว้อ่าน  ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวสถานที่ วัน เวลา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละฉาก  พร้อมบทสนทนา

Script – บทภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์  อาจจะเขียนขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงมาจากวรรณกรรม  นวนิยาย  เรื่องสั้น

Sequence : ตอนๆ หนึ่งของภาพยนตร์ ซึ่งเกิดจากซีน (Scene) หลายๆ ซีนมารวมกัน มีความสมบูรณ์ในตัวเอง อาจเริ่มต้นและจบลงด้วยการเชื่อมภาพแบบ fade, dissolve หรือ cut ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะประกอบด้วย Sequence หลายๆ Sequence มารวมกันเป็นเรื่องราว เช่น Sequence ตอนพระเอกยังวัยเด็ก, Sequence ตอนพระเอกพบรักครั้งแรก เป็นต้น

Shot – เป็นการบันทึกภาพในแต่ละครั้ง  กล่าวคือ  เริ่มกดปุ่มบันทึกภาพหนึ่งครั้งและกดปุ่มหยุดบันทึกอีกหนึ่งครั้ง  นับเป็น 1 shot

Shooting Script – เป็นบทถ่ายภาพยนตร์สำหรับทีมงาน  ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิค  การวางตำแหน่งกล้อง  การเคลื่อนกล้อง  ขนาดภาพ มุมภาพ  เป็นศัพท์และคำ ย่อเฉพาะทางด้านภาพยนตร์ทั้งสิ้น  จึงเหมาะสำหรับทีมงานของกองถ่ายนั้นๆ  หรือผู้ที่ศึกษามาทางภาพยนตร์โดยเฉพาะ

Slate : แผ่นกระดานชนวน ที่ใช้ถ่ายก่อนการถ่ายทำในแต่ละเทค โดยมีการขีดเขียน หรือบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเทคนั้นๆ เพื่อให้คนตัดต่อได้ทราบว่าเทคนั้นเป็นเทคที่เท่าใด และจะมีไม้ตีเกี่ยวอยู่ข้างบน เพื่อทำให้เกิดเสียง เมื่อเวลาตัดต่อจะสามารถเชื่อมภาพกับเสียงเข้าด้วยกัน ทำให้เสียงพูดกับปากนักแสดงตรงกัน และหากเทคใดลืมถ่าย Slate ก็ให้ถ่ายในตอนท้ายของเทคนั้น โดยถ่ายแผ่น Slate กลับหัว

Slate – บอร์ดแสดงข้อมูลการถ่ายทำในแต่ละช็อต  ซึ่งจะมีข้อมูลของช็อตนั้นที่กำลังจะถ่ายเช่น  ชื่อภาพยนตร์  ฉาก  ช็อต  เทคที่เท่าไรชื่อผู้กำกับ  ช่างภาพ  ถ่ายกลางวันหรือกลางคืน  ภายนอกหรือภายใน  ฟิล์มม้วนที่เท่าไร  วันที่ถ่าย  เป็นต้น  ซึ่งก่อนการถ่ายผู้กำกับต้องสั่งให้ทีมงานนำ Slate เข้ามาโชว์ที่หน้ากล้องเพื่อบันทึกว่าสิ่งที่กำลังจะถ่ายต่อไปนี้คืออะไร  เพื่อเป็นประโยชน์ตอนตัดต่อ

Skin Flick : ภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นเนื้อหนังมังสา สัดส่วนโค้งเว้า โดยมากจะเป็นภาพของสตรี แต่ก็ไม่เสมอไป เป็นการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของคนดูจากความงามที่นำเสนอ แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องลามกอนาจาร เช่นเรื่อง Apple Knockers and the Coke ก่อนปี ค.ศ. 1948 ของ Marilyn Monroe โดยที่เธอปรากฎกายในลักษณะเปลือยเปล่า กำลังเล่นกับลูกแอปเปิ้ล และขวดโคล่าอย่างมีเลศนัย ซึ่งภาพยนตร์ในบัจจุบันนิยมกันมากเพื่อเป็นจุดขายมากกว่าภาพศิลปะ

Storybord – ภาพประกอบเหตุการณ์ในแต่ละช็อต  เพื่อให้การถ่ายทำได้เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน

Subjective – มุมแทนสายตาตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง  ซึ่งมุมจะเปลี่ยนไปตามอิริยาบทของตัวละครที่กล้องแทนสายตาอยู่  ไม่ว่าจะ เดิน นั่งนอน

Synopsis – แนวความคิดหลัก  และโครงสร้างของภาพยนตร์แบบกระชับ

Theme  -แก่นของเรื่อง

Tilt – คือการกดกล้องลงหรือเงยขึ้นระหว่างที่ถ่ายทำ (ลักษณะจะคล้าย pan แต่เปลี่ยนจากซ้าย-ขวา เป็นบน-ล่าง) การสื่อความหมายจะคล้ายกับ pan คือ ต้องการเน้นสิ่งใดก็ให้ Tilt ไปหยุดที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้าย เช่น “กล้องแทนสายตาของฝ่ายชายที่กำลังตะลึงกับครั้งแรกที่เจอสาวสวย จนถึง ขนาดต้องกวาดสายตาตั้งแต่ปลายเท้าของฝ่ายหญิง  เรื่อยขึ้นมาจนถึงใบหน้า  ( กล้องจะ tilt up )จนลืมไปว่าเป็นการเสียมารยาท”  เป็นต้นในลักษณะนี้จะ เป็นการเน้นที่หน้าของฝ่ายหญิงมากกว่าเรือนร่าง

Treatment – เป็นการขยายเรื่อง (Plot) ตั้งแต่ต้นจนจบอกมาในลักษณะความเรียง

อ้างอิง http://taditida.blogspot.com/2012/02/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น