วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศัพท์ทางเทคนิคกับการถ่ายทำและควบคุมกล้อง

ศัพท์ทางเทคนิคกับการถ่ายทำและควบคุมกล้อง


PAN เป็นการเคลื่อนกล้องและแท่นวางกล้องโดยวิธีส่ายไปในแนวนอนส่วนขาตั้งกล้องยังคงที่

คำสั่งที่ใช้ :ใช้ออกคำสั่งว่า"Panright"ส่ายไปทางขวาหรือ"Panleft"ส่ายไปทางซ้ายบางที ผู้ผลิตอาจออกคำสั่งที่เจาะจงลงไปกว่านี้ก็ได้เช่นส่ายไปทางซ้ายเมื่อผู้ดำเนินรายการเดินไปที่โต๊ะก็ได้ การส่ายกล้องชนิดพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ การส่ายอย่างรวดเร็ว (SWISH หรือ WHIP) ช่วงระหว่างภาพที่ส่ายนั้นจะไม่ชัดมองเห็นเหมือนลำแสงบนจอวิธีการนี้เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องของภาพนั่นเอง การส่ายกล้องควรคำนึงถึงจุดหมายปลายทางมิใช่ส่ายกล้องไปโดยมิรู้ว่าจะไปหยุด ณ ที่ใด ทำให้ภาพไม่มีประสิทธิภาพและไม่น่าสนใจ
TILT คือ การเคลื่อนไหวกล้อง และแท่นวางกล้องโดยวิธีการก้มหรือเงยกล้อง ส่วนขาตั้งกล้องยังคงที่

คำสั่งที่ใช้ : ใช้ออกคำสั่งว่า "Tilt up" เงยกล้องขึ้น หรือ "Tilt down" ก้มกล้องลง
PEDESTAL คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความสูงของขาตั้งคำสั่งที่ใช้ : ใช้ออกคำสั่งว่า "Pedestal up" หรือ "Ped up"เป็นการยกกล้องให้สูงขึ้น "Pedestal down" หรือ "Ped down" เป็นการลดกล้องให้ต่ำลง

การใช้ Pedestal upก็เหมือนกับการนั่งแล้วลุกขึ้นจะทำให้มุมของภาพที่มองนั้นเปลี่ยนไป
DOLLY คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธีเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่ออกไปจาก วัตถุพร้อมขาตั้ง
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Dolly in" เป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุและ "Dolly out"เคลื่อนออกไปจากวัตถุการเคลื่อนที่ช้าหรือเร็วเพียงใดนั้นผู้ควบคุมรายการจะเป็นผู้ออกคำสั่ง

TRUCK คือการเคลื่อนไหวกล้องไปข้างซ้ายหรือขวาโดยทั้งขาตั้งและตัวกล้องเคลื่อนที่ไปด้วยกัน

คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Truck right" สำหรับการเคลื่อนไปทางขวาและ
"Truck left" สำหรับการเคลื่อนไปทางซ้ายการเคลื่อนที่ในลักษณะนี้ก็เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้แสดงและเป็น การช่วยจัดภาพภายในกรอบให้ดีขึ้นนั่นเอง  ลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้แตกต่างจากการส่ายกล้องPAN ที่เคลื่อนที่เฉพาะตัวกล้องและแท่นวางเท่านั้น
ARC คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธี Dolly และ Truck แต่เป็นการเคลื่อนในลักษณะครึ่งวงกลม
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Arc right" สำหรับการเคลื่อนไปทางขวามือ และ "Arc left" สำหรับการ เคลื่อนไปทางซ้ายมือ
CRANE คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยที่กล้องติดอยู่บนคันยกที่มีแขนยาวยื่นออกไป
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Crane up" สำหรับการยกคันยกขึ้นและ "Crane down" สำหรับการยกคันยกลงบางทีใช้คำว่า "Boom up" และ "Boom down" แทนก็ได้ ถ้าหากมีการส่ายคันยกไปทางขวาจะใช้คำสั่งว่า "Tongue left" บางครั้งจำเป็นที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะต่างๆร่วมกันเพื่อให้ภาพมีประสิทธิภาพเช่น ในขณะที่ (Dolly in) อาจต้องลดกล้องให้ต่ำลง (Ped own) และการที่จะทำให้ภาพอยู่ในกรอบในขณะที่ลดต่ำลงจะต้องมีการส่ายไปทางซ้าย-ขวา (Pan) เล็กน้อยพร้อมกับเงยกล้อง (Tilt up) ด้วยจึงจะได้ภาพที่อยู่ในกรอบที่ต้องการ ดังนั้นผู้ควบคุมกล้องควรมีผู้ช่วยในการเคลื่อนขาตั้งส่วนผู้ควบคุมกล้องจะทำหน้าที่ส่ายก้มหรือเงย และควบคุมเลนส์ได้สะดวกขึ้นการมีผู้ช่วยจำเป็นต้อง มีการทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะเกิดประสิทธิผลของการผลิตรายการ
Zoom คือการใช้การควบคุมที่ต้องการเปลี่ยนมุมการรับภาพของเลนส์ที่ต่อเนื่องกัน
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Zoom in" หรือ "Zoom out" ใช้ "Zoom in" เมื่อต้องการดึงภาพเข้ามาใกล้ ๆ บางทีใช้คำว่า "Push in" และใช้คำว่า "Zoom out" เมื่อต้องการปล่อยมุมรับภาพให้กว้างออกไปบางทีใช้ "Pull out" การใช้ Zoomอย่างรวดเร็วนั้นเรียกว่า"SnapZoom"เพื่อทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งไม่ควรจะใช้ บ่อยนัก
Focus คือ การปรับความคมชัดของภาพ คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Focus up"
Rack lens คือ การเปลี่ยนหรือหมุนเลนส์ที่อยู่บนจาน (Turret) ให้ตรงกับช่องเลนส์ที่ถ่ายภาพเพราะบนTurretจะมีเลนส์หลายตัว แต่ปัจจุบันนี้แบบนี้ไม่นิยมใช้แล้ว
คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า "Rack lens" หรือ "Flip lens" ซึ่งปกติจะบอกจำเพาะเจาะจงลงไป ว่า Rack lens ชนิดใด

อ้างอิง http://www.gotoknow.org/blogs/posts/19758

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น